วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หน่วยรบพิเศษ คือ ...


พวกเขาขุดคุ้ยความลับของศัตรู ปฏิบัติการช่วยชีวิตสุดระทึกขวัญ ดำเนินภารกิจลับสุดยอด และรับงานอีกหลายอย่างที่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถ ทหารผู้กล้าแห่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ผู้ผ่านการฝึกอย่างทรหดก่อนไปเป็นหัวหอกในปฏิบัติการทางทหารที่ท้าทาย ทั้งหมดคืภารกิจของเราเพราะเราคือ "ทหารหน่วยรบพิเศษ"

รูป หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เเหล่งผลิตนักรบพิเศษของกองทัพบก

                               เริ่มจากประวัติของหน่วยรบพิเศษ ของกองทัพไทย ซึ่งถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2497 ในนามของกองพันทหารพลร่ม ที่ตั้ง ณ บ้านป่าหวาย  ตำบลป่าตาล อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งมี พ.ต.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็นผู้บังคับกองพัน


                         กองพันทหารพลร่มในยุคแรกได้ปฏิบัติภารกิจ ตามแผนงานโครงการของกองทัพบก และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ผลการปฏิบัติงานเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนประชาชนต่างก็ประจักษ์ถึงขีดความสามารถของกองพันทหารพลร่มในเรื่อง การรบ การกระโดดร่ม การช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่างๆ และป้องกันประเทศจากภัยคุกคามของลักธิคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันความต้องการที่จะใช้หน่วยทหารพลร่มปฏิบัติภารกิจมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หน่วยรบพิเศษได้รับการปรับปรุงพัฒนามาโดยลำดับ จากกองพันทหารพลร่มได้รับพิจารณาให้ขยายกำลังเป็น กองรบพิเศษ(พลร่ม) และต่อมาได้มีการขยายกำลังเป็นระดับกองพล คือ ศูนย์สงครามพิเศษ เพื่อเป็นศูนย์ทางวิทยาการและศูนย์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ มีหน้าที่ค้นคว้า วิจัย พัฒนา ฝีกอบรม และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ ได้กำหนดอัตรารายละเอียดเพื่อใช่ในการจัดและบรรจุกำลัง โดยได้ออกคำสั่งกองทัพบก(เฉพาะ) ที่ 15/09 ลง 24 กุมภาพันธ์ 2509 ต่อมากองทัพบกได้เพิ่มภารกิจให้กว้างขวางมากยี่งขึ้นในเรื่อง สงครามนอกแบบ เพื่อ สนับสนุนแผนป้องกันประเทศ ซึ่งเน้นความสำคัญให้กับการปฏิบัติการของหน่วยรบพิเศษจึงได้จัดตั้ง หน่วยบัญชากรสงครามพิเศษ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2526 เพื่อทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาหน่วยรบพิเศษที่ได้จัดตั้งไว้แล้ว จึงนับได้ว่าวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น "วันรบพิเศษ" โดยีการจัดกิจกรรมและรำลึกถึงนักรบพิเศษที่ได้สร้างวีรกรรมดีเด่น เป็นเกรียรติประวัติให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณงามความดีของนักรบ พิเศษที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องเอกราชของชาติ ในอดีตที่ผ่านมาบรรพบุรุษของไทยแต่โบราณได้ต่อสู้เพื่อปกป้องเอกราชของบ้าน เมืองมาหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งประวัติศาสตร์ได้จารึกถึงเกียรติประวัติของเหล่าวีระบุรุษ ผู้กล้าให้อนุชนร่นหลังได้ยึดถือเป็นแบบอย่างมิใช่แต่เพียงความกล้าหาญและ การเสียสละ เท่านั้นพวกเรายังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การรบในสมรภูมิต่างๆซึ่งได้พัฒนา รูปแบบมาจน เป็นสงครามพิเศษในปัจจุบัน จากภาวะสงครามอันเนื่องมาจากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งมุ่งกระทำต่อ ภูมิภาค ของโลก ส่งผลให้ประเทศไทยไม่อาจรอดพ้นจากภัยคุกคาม ดังกล่าวได้การต่อสู้ระหว่าง โลกเสรีกับคอมมิวนิสต์ ได้ขยายตัวและเกิดขึ้นในหลายๆ ทุกภูมิภาคของโลก จนทำให้ในที่ สุดกลุ่มประเทศอินโดจีนต้องอยู่ภายใต้การยึดครองของคอมมิวนิสต์และภัยคุกคาม ดังกล่าว ได้คืบคลานเข้าสู่ประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเหลี่ยง บทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามอินโดจีนที่ได้มีการใช้กำลัง ประชาชน ในรูปแบบต่าง ๆ และ ที่สำคัญ คือประเทศที่มีศักยภาพที่เหนือกว่าต้อง เพลี่ยงพล้ำแก่ประเทศ ที่มีศักยภาพทางทหาร ที่ด้อยกว่าด้วยการใช้ การสงครามพิเศษและการปฏิบัติของหน่วยรบพิเศษ อย่างได้ผล กองทัพบกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการปฏิบัติการสงครามพิเศษ ที่ จะสามารถเผชิญและลดภัยคุกคามจากภายนอกประเทศได้จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยรบ พิเศษขึ้น เป็นหน่วยแรก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2497 ที่บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ใช้ชื่อว่า " กองพันทหารพลร่ม" หรือที่รู้จักกันดีในนามของ "พลร่มป่าหวาย" ตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 หลังวันเสียงปืนแตก ที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เริ่มทำสงครามประชาชน เพื่อล้มล้างรัฐบาล กองทัพบกได้ใช้หน่วยรบพิเศษเข้าต่อสู้กับภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ และเพื่อเกิดเอกภาพในการปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 กองทัพบกได้จัดตั้ง ศูนย์สงครามพิเศษขึ้นเพื่อทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
วางแผน ดำเนินการ กำกับการ และดำเนินการฝึกศึกษาเกี่ยวกับ การสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ และการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ
ดำเนินการ วิจัย พัฒนา กำหนดหลักนิยม และทำตำราในทางิวทยการที่เกี่ยวข้อง
ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนดโดยมีผู้บัญชาการศูนย์ สงครามพิเศษ เป็นผู้รับผิดชอบ
                                                 รูป กองพันทหารพลร่ม (กรมรบพิเศษที่ 1)

                           กองพันทหารพลร่ม หรือที่รู้จักกันดีในนามของ "พลร่มป่าหวาย" ตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 หลังวันเสียงปืนแตก ที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เริ่มทำสงครามประชาชน เพื่อล้มล้างรัฐบาล กองทัพบกได้ใช้หน่วยรบพิเศษเข้าต่อสู้กับภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ และเพื่อเกิดเอกภาพในการปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 กองทัพบกได้จัดตั้ง ศูนย์สงครามพิเศษขึ้นเพื่อทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
วางแผน ดำเนินการ กำกับการ และดำเนินการฝึกศึกษาเกี่ยวกับ การสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ และการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ 
ดำเนินการ วิจัย พัฒนา กำหนดหลักนิยม และทำตำราในทางิวทยการที่เกี่ยวข้อง
ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนดโดยมีผู้บัญชาการศูนย์ สงครามพิเศษ เป็นผู้รับผิดชอบ



รูป ศูนย์สงครามพิเศษ 

                            ศูนย์สงครามพิเศษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 สถานการณ์การต่อสู้ด้วยอาวุธภายในประเทศ ได้เบาบางลง ขณะเดียวกันประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอกประเทศกองทัพบกจึงได้จัดตั้ง หน่วยรบพิเศษเข้าปฏิบัติการ และได้จัดตั้ง กองพลรบพิเศษที่ 1, กองพลรบพิเศษที่ 2 (ปัจจุบันมีเพียง 1 กองพล) เพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้น เมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ.2526 ได้มีการจัดตั้งหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษสงครามพิเศษ

รูป สัญญาลักษณ์ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

    ตัวอักษร U สงครามนอกแบบ [ Unconventional Warfare ] ซึ่งเป็นภารกิจของหน่วย
    ปีกและร่ม ความสามารถในการส่งทางอากาศ อันเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วย
    ดาวสามดวง อัตรากำลังของหน่วยระดับกองทัพภาคมีผู้บัญชาการยศ พลโท
    สีดำที่ตัวยู ภารกิจภายใต้การปิดลับที่ไม่เปิดเผย
    สีฟ้าที่พื้น ขอบเขตอันกว้างไกลตามภารกิจของหน่วย

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น