วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

อาวุธขนาดเล็ก ปืนพก แบบ 86 ขนาด 11 มม.(.45 นิ้ว) M1911/ M1911A1

อาวุธขนาดเล็ก



ปืนพก แบบ 86 ขนาด 11 มม.(.45 นิ้ว) M1911/ M1911A1

1. กล่าวนำ ปพ.แบบ 86 เป็นอาวุธประจำกายสำหรับใช้ป้องกันตัวในระยะประชิดเป็นอาวุธที่มีลำกล้องสั้นจึงทำให้เกิดอุบติเหตุได้ง่าย ฉะนั้นผู้มีหน้าที่ต้องใช้อาวุธจำเป็นต้องรู้ถึงลักษณะการทำงาน ตลอดจนการปรนนิบัติบำรุงเป็นอย่างดี

2. คุณลักษณะทั่วไป
2.1 เป็นอาวุธที่ใช้ถือยิงด้วยมือ
2.2 ทำงานด้วยแรงถอย
2.3 ป้อนกระสุนด้วยซองกระสุน (บรรจุกระสุน 7 นัด เรียงแถวเดียว)
2.4 เป็นอาวุธยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ (กระสุนจะลั่นหนึ่งนัด เมื่อเหนี่ยวไกแต่ละครั้ง)
หมายเหตุ อัตรากระสุนมูลฐานเป็นอัตราเบิกจ่ายจำนวนกระสุน ซึ่งอนุมัติไว้ให้มีที่หน่วยใช้ตลอดเวลาเพื่อ
เผชิญสถานการณ์รบในขั้นต้นจนกว่าการส่งกำลังเพิ่มเติมตามปกติจะดำเนินการได้อัตรามูลฐาน
ดังกล่าวหน่วยจะต้องสามารถนำไปด้วยกำลังพลและยานพาหนะในอัตราของหน่วย

3. มาตราฐาน
- ขนาดกว้างปากลำกล้อง 0.45 นิ้ว ( 11 มม.)
- ระยะยิงหวังผลไกลสุด 50 เมตร
- ระยะยิงไกลสุด 1,500 เมตร
- ปืนทั้งกระบอกยาว 8 5/8 นิ้ว
- ลำกล้องยาว 5.03 นิ้ว
- เกลียวเวียนซ้าย 6 เกลียว เพื่อชดเชยทางขีปนะ
- ปืนทั้งกระบอกพร้อมซองกระสุนบรรจุเต็มหนักประมาณ 3 ปอนด์
- ปืนทั้งกระบอกพร้อมซองกระสุนเปล่าหนักประมาณ 2.4 ปอนด์
- ความเร็วต้น ณ ปากลำกล้อง 830 ฟุต/วินาที

4. เครื่องเล็งเป็นศูนย์แบบตายตัว ทั้งศูนย์หน้าและศูนย์หลังเป็นศูนย์ครึ่งวงกลม ส่วนศูนย์หลังเป็นศูนย์บากรูปตัววี (V)



5. ในขณะที่ยิงกระสุนนัดสุดท้าย เลื่อนปืนอยู่ในตำแหน่งเพื่อแสดงว่ากระสุนหมดซองและช่วยให้การบรรจุกระสุนรวดเร็วยิ่งขึ้น



6. ลักษณะแตกต่างระหว่าง ปพ. แบบ 86 M1911 และ M1911A1



6.1 หางห้ามไกช่วยของ M1911A1 ดัดแปลงให้ยาวกว่า M1911 ทั้งนี้เพื่อให้รับกับมือยิ่งขึ้น
6.2 ด้านซ้ายของโครงปืนตอนหลังโกร่งไกของ M1911A1 ทำให้เว้ามากขึ้นเพื่อให้เป็นที่พักของนิ้วมือขวา
(หรือนิ้วเหนี่ยวไก) และสามารถสวมถุงมือยิงได้
6.3 ด้านหน้าของไก M1911A1 ทำให้เว้าและสั้นกว่าเดิม มีลายกันลื่นไว้เพื่อให้เหนี่ยวไกได้ถนัดและประณีตยิ่งขึ้น
6.4 เหล็กปิดท้ายโครงปืนของ M1911A1 ตอนล่างทำให้โค้งมากขึ้นและมีลายกันลื่นไว้เพื่อให้กระชับกับอุ้งมือในเวลากำปืน
6.5 ส่วนบนของศูนย์หน้า  M1911A1 ได้ดัดแปลงให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เล็งได้สะดวกและรวดเร็ว

7. การถอดแบบปกติ



7.1 ตรวจความปลอดภัยของปืน
7.2 ถอดซองกระสุน
7.3 คลายปลอกบังคับครอบแหนบรับแรงถอย
7.4 ถอดครอบแหนบรับแรงถอย และแหนบ
7.5 ถอดปลอกบังคับครอบแหนบรับแรงถอย
7.6 ดึงนกปืนมาข้างหลังเพื่อขึ้นนก
7.7 จัดเลื่อนปืนให้แผ่นหยุดเลื่อนปืนตรงกับบากเล็กที่ด้านซ้ายของเลื่อนปืน (บากอันหลัง)
7.8 ถอดสลักลำกล้องปืนและแผ่นหยุดเลื่อนปืน (ดันสลักจากขวาไปซ้าย)
7.9 หงายโครงปืนขึ้น แยกหมู่เลื่อนปืนออกจากโครงปืน
7.10 ถอดแกนแหนบรับแรงถอย
7.11 ถอดลำกล้องและห่วงข้อต่อลำกล้อง
หมายเหตุ การถอดแบบปกติ ปพ.แบบ 86 ประกอบด้วยหมู่ใหญ่ ๆ 3 หมู่ คือ
1) หมู่เลื่อนปืน
2) หมู่โครงปืน
3) หมู่ซองกระสุน
** ไม่ควรลั่นไกในขณะถอดปืนแล้วถ้าจะลั่นไกต้องค่อย ๆ ปล่อยนกปืนไปข้างหน้า

8. การประกอบ ให้กระทำย้อนกันกับการถอดและให้ตรวจสอบปืนว่าได้ประกอบไวถูกต้องหรือไม่



9. การตรวจสภาพของเครื่องกลไก ในการรักษาความปลอดภัย  จำเป็นจะต้องหมั่นตรวจสภาพของปืนอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นโดยให้ปฏิบัติดังนี้
9.1 ตรวจห้ามไก ปลดซองกระสุนตรวจความปลอดภัยของปืนแล้วขึ้นนกผลักห้ามไกขึ้นข้างบนบีบห้ามไกช่วยให้จมลงไปในโครงปืน พร้อมกับเหนี่ยวไกอย่างแรง 3-4 ครั้ง นกปืนจะต้องไม่ฟาดปืนลงไป
9.2 การตรวจห้ามไกช่วย ปลดซองกระสุนตรวจความปลอดภัยของปืนแล้วขึ้นนกหน้าปากลำกล้องไปในทิศทางที่ปลอดภัย เหนี่ยวไก 3-4 ครั้ง แต่อย่ากดห้ามไกช่วยนกปืนจะต้องไม่ฟาดตัวลงไป
9.3 การตรวจตำแหน่งกี่งขี้นนก ปลดซองกระสุนตรวจความปลอดภัยของปืน ดึงนกปืนให้อยู่ในท่ากึ่งขี้นนกแล้วเหนี่ยวไกนกปืนจะต้องไม่ฟาดตัว ลงไป (ถ้านกปืนฟาดตัวแสดงว่านกปืนและกระเดื่องนกปืนชำรุดดึงนกปืนมาข้างหลัง อีกจนเกือบถึงท่าขึ้นนก ห้ามเหนี่ยวไก ปล่อยให้นกปืนผละกลบมาข้างหน้านกปืนจะต้องไม่ฟาดตัวเลยท่ากึ่งขึ้นนก (ถ้านกปืนฟาดตัวเลยไปตีท้ายเข็มแทงชนวน แสดงว่านกปืนชำรุด)
9.4 การตรวจเหล็กปลดสะพานไก
หมายเหตุ เหล็กปลดสะพานไกมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้นกปืนฟาดตัว ลงตีท้ายเข็มแทงชนวนในเมื่อเลื่อนปืน ยังไม่ปิดท้ายรังเพลิงสนิท และป้องกันไม่ให้ทำการยิงเป็นชุดอีกด้วย



การตรวจให้ปฏิบัติดังนี้

- ปลดซองกระสุน ตรวจความปลอดภัยของปืนแล้วขึ้นนกดึงเลื่อนปืนมาข้างหลังประมาณ 1/4 นิ้ว และให้ยึดเลื่อนปืนไว้ ณ ตำแหน่งนี้ พร้อมๆ กันนั้นให้เหนี่ยวไกค้างไว้ ปล่อยเลื่อนปืนกลับไปข้างหน้าแต่ยังคงเหนี่ยวไกอยู่ตลอดเวลา นกปืนจะต้องไม่ฟาดตัวตามเลื่อนปืนลงไปตีท้ายเข็มแทงชนวน ( ถ้านกปืนฟาดตัวแสดงว่าปลายบนหรือหัวของเหล็กปลดสะพานไกชำรุด )

- ให้ตรวจต่อไปโดยดึงเลื่อนปืนมาข้างหลัง และยึดเลื่อนปืนค้างไว้ เหนี่ยวไกแล้ว ปล่อยให้เลื่อนปืนกลับไปข้างหน้า นกปืนจะต้องไม่ฟาดตัวลงไปทั้งๆ ที่ทำการเหนี่ยวไกอยู่ (ถ้านกปืนฟาดตัว แสดงว่าเหล็กปลดสะพานไกชำรุด)

- ให้ปล่อยไกแล้วเหนี่ยวใหม่ นกปืนจะต้องฟาดตัวลงไปตีท้ายเข็มแทงชนวน ( ถ้านกปืนไม่ฟาดตัวแสดงว่าแหนบกระเดื่องนกปืน หรือเหล็กปลดสะพานไกชำรุด )

10. การทำงานของ ปพ. แบบ 86 มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่ การขี้นนก , การป้อนกระสุน, การบรรจุกระสุนเข้ารังเพลิง, การขัดกลอน, การลั่นกระสุน, การปลดกลอน, การรั้งปลอกกระสุน และ การคัด ปลอกกระสุน



11. การแก้ไขเหตุติดขัดทันทีทันใด คือการปฏิบัติทันทีทันใดของผู้ยิงเมื่อปืนเกิดการติดขัดขึ้น โดยยังไม่ต้องค้นหาสาเหตุการติดขัดในเวลานั้นมีอยู่ 2 กรณี คือ
11.1 เมื่อเลื่อนปืนอยู่หน้าสุดนกปืนฟาดตัวลงตีท้ายเข็มแทงชนวน และปืนไม่ลั่นกระสุนให้ปฏิบัติดังนี้.
- ดึงนกปืนมาข้างหลังเพื่อขึ้นนกเหนี่ยวไกหนึ่งครั้ง ถ้าปืนไม่ลั่น ให้คอย 10 วินาที หันปากลำกล้องชี้ไปยังเป้าหมาย หลังจากนั้น ดึงเลื่อนปืนมาข้างหลัง ให้สุดแล้ว ปล่อยกลับไปข้างหน้า
- ทำการเล็งและยิงต่อไป
11.2 เมื่อเลื่อนปืนไม่เข้าที่ (ไม่อยู่หน้าสุด) ให้ดันเลื่อนปืนไปหน้าสุด ถ้าเลื่อนปืนไม่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าให้ปฏิบัติดังนี้.
ถ้าปืนยังไม่ลั่นกระสุนหลังจากได้ทำการแก้ไขเหตุติดขัดทันทีทันใดแล้ว ให้ทำการค้นหาสาเหตุการ
ติดขัดของปืนต่อไป

12. การระวังรักษาและการทำ ความสะอาดอาวุธ



12.1 ก่อนทำการยิง ชิ้นส่วนภายในของปืนทั้งหมดให้ชโลมด้วยน้ำมันบางๆ ยกเว้นรูหลอดลำกล้องและชิ้นส่วนภายในที่สัมผัสกับกระสุนให้เช็ดแห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้หยอดน้ำมันตามชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เคลื่อนที่และชิ้นส่วนที่ได้รับการขัดสีอยู่เสมอ เช่น ช่องทางเดินของเลื่อนปืน (บริเวณเลื่อนปืนและโครงปืน) การหยอดน้ำมันนี้ต้องระวังไม่ให้มากเกินไปด้วยหลัง จากประกอบปืนแล้วใช้ผ้าชุบน้ำมันหมาด ๆ เช็ด
ภายนอกของปืนแต่ระวังชิ้นส่วนบริเวณที่เรากำปืนเวลาทำการยิงอย่าให้มีน้ำมันมากเกินไปเพราะจะทำให้ลื่น จับถือปืนลำบาก
ข้อควรระวัง อย่าปล่อยให้เศษผ้าที่ใช้ทำความสะอาดหรือสิ่งอื่น ๆ ค้างอยในลำกล้องและรังเพลิง หรืออุดปากลำกล้องไว้
12.2 ภายหลังการยิง เมื่อทำการยิงเสร็จแล้วให้รีบทำความสะอาดภายในลำกล้องและรังเพลิงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ข้างม้วนต่อจากนั้นทำความสะอาดและชโลมน้ำมันทุกวันอย่างน้อยเป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน

13. กระสุน ปพ.แบบ 86 (M1911A1) ขนาด 11 มม. (0.45 นิ้ว)(TM 43-0001-27 ฉบับ APRIL 1994)



13.1 กระสุนธรรมดา (BALL, M1911) หัวไม่ทาสี ใช้สังหารบุคคล
และเป้ าหมายที่ไม่แข็งแรง
13.2 กระสุนซ้อมรบ (BLANK, M9) ไม่มีหัวกระสุน ปากปลอกสอบ
ใช้ยิงแทนกระสุนจริงในการฝึกทางยุทธวิธีและใช้ยิงสลุต
13.3 กระสุนฝึกบรรจุ (DUMMY, M1931) ไม่มีชนวนท้ายและปลอก
กระสุนเจาะรู 2 รู ใช้ฝึกบรรจุและใช้ตรวจสภาพ/ทดสอบกลไกของอาวุธ
13.4 กระสุนส่องวิถี (TRACER, M26) ปลายหัวกระสุนทาสีแดง
ความมุ่งหมายหลักใช้สำหรับตรวจตำบลกระสุนตกความมุ่งหมายรอง
ใช้สำหรับผลในการลุกไหม้และใช้เป็นอาณัติสัญญาณ
13.5 กระสุน WAD CUTTER ลูกกระสุนเป็นรูปกรวย

14. สิ่งชี้สอบในการตรวจสภาพ ปพ.แบบ 86 ชิ้นส่วนสำคัญที่ต้องตรวจสภาพก็คือ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืน ซึ่งรับแรงกระทำของแก๊สอยู่เสมอได้แก่ ผิวภายในของลำกล้องและรังเพลิง, ส่วนบนของซองกระสุน, ผนัง

อ้างอิงจาก คู่มือการปรนิบัติปืน ปพ. 86 ... ร.ต.ภุชงค์ สานพภา

2 ความคิดเห็น: