คำศัพท์ ที่ข้าพเจ้า ลอกมานี้ อาจจะเก่าไปบ้าง รวมถึง บางคำก็ไม่มี หรือ แปลไม่ตรงกับ คำแปลใน Dictionary หรือ ไม่ถูก ไวยากรณ์ นัก ท่านก็เอาแค่เป็นแนวทาง เพื่อ เข้าใจ ในภาษา อาวุธปืนที่เราๆท่านๆ ชอบ ก็แล้วกัน ถ้าได้เรื่องก็นำไปใช้ ถ้าไม่ได้เรื่อง ก็ ผ่านไป อย่าไปอ่านมัน หรือ ถ้าท่าน มีความเห็นที่แตกต่างก็กรุณา บอกเล่า เก้าสิบ กัน บ้าง แต่ถ้าเห็นว่าดี มีประโยชน์ ก็ พิมพ์เก็บเอาไว้ ก็แล้วกันก่อนที่เจ้าของที่แท้จริงจะมาต่อว่าให้ลบทิ้ง
ด้วยความเคารพ ท่าน วิจิตร ศิริเธียนร์ ที่ สั่งสอนมา กว่า 40 ปีแล้ว ยังเรียนรู้จากท่านไม่หมด
FABBRI
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Action เครื่องกลไก, เครื่องกลไกชุดนี้ประกอบติดตั้งอยู่ท้ายลำกล้องปืน มีหน้าที่ประจุกกระสุนเข้ารังเพลิง อัด กระสุนให้แน่นสนิทกับรังเพลิง และป้องกันมิให้ปลอกกระสุนถอยหลังในขณะดินปืนแปรสภาพเป็นแก๊สขับดันกระสุน กอปรด้วยลูกเลื่อนและชุดกลไกในการลั่นไกยิงทั้งหมด Short Action เครื่องกลไกปืนช่วงสั้น เช่น แบบของ “เมาเซอร์ ชอร์ท แอคชั่น” เครื่องกลไกแบบนี้มักนิยมใช้ในการสร้างปืนแบบลูกเลื่อน ซึ่งใช้กระสุนช่วงยาวเพื่อปรารถนาจะให้ช่วงของการชักลูกเลื่อนสั้นลงความยาวของช่องสลัดปลอก ซึ่งเจาะไว้ในปืนสั้นกว่าความยาวของช่วงตัวกระสุน แต่ยังยาวกว่าปลอกกระสุนของกระสุนนั้นๆ รวมถึง ระบบกลไก ปืน แบบต่างๆ เช่น คานเหวี่ยง โยนลำ( ป้ำ ) ทั้งเดี่ยว และ แฝดลูกซอง เป็นต้น Fabbri
Auto-Loader ปืนประจุเอง, ซึ่งจัดอยู่ในจำพวกปืนกึ่งอัตโนมัติ สามารถป้อนกระสุนเข้ารังเพลิงเองแต่ไม่สามารถยิงได้ในตัวเหมือนปืนกล การยิงทุกครั้งผู้ยิงต้องเหนี่ยวไกทุกนัดไป เป็นคำใช้เรียกของปืน ซึ่งนิยมกันแพร่หลายมากกว่า คำว่า “Semi-Automatic” มีความหมายเป็นอย่างเดียวกันกับ “Self-Loading” ซึ่งใช้แทนกันและกันได้
Automatic อัตโนมัติ เป็นคำคุณศัพท์ ขยายมุ่งแสดงแบบของปืน ปืนอัตโนมัติในด้านอาวุธศึกษาหมายถึงปืนกล เพราะหลักการของปืนประเภทนี้ เพียงแต่เหนี่ยวไกอุบนิ่งเฉยไว้ปืนก็สามารถสลัดปลอกป้อนกระสุน ปิดรังเพลิง และยิงได้เองในตัวต่อเนื่องกันไปจนกระสุนหมดแม็กกาซีน แต่โดยทั่วไปมักจะใช้คำนี้อย่างแพร่หลายจนเคยชิน โดยหมายถึงปืนแบบประจุเอง หรือปืนแบบกึ่งอัตโนมัติ
Ballistics ขีปนะวิทยา เป็นวิทยาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกระสุนปืน เป็นวิชาการอย่างกว้างขวางแผ่คลุมไปถึงหลักการสร้างอาวุธปืน และผลิตกระสุนอันเป็นสมุฏฐานในการก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแหวกพุ่งของกระสุน พร้อมทั้งผลซึ่งกระสุนยังให้เกิดขึ้นแก่เป้าหมาย
Ballistic Properties พฤติขีปนะ (the functioning properties of the ammunition or those properties other than dimensions and appearance) หมายถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ แสดงถึงการเคลื่อนไหวและผลงานซึ่งกระสุนจะประสิทธิ์ให้ อันเป็นวิสัยของกระสุน ซึ่งนอกเหนือไปจากลักษณะ รูปร่าง และขนาด
Barrel ลำกล้องปืน Tapered barrel ลำกล้องปืนแบบโคนใหญ่และค่อยๆ เรียวเล็กลงทางปลาย แบบโคนใหญ่ปลายเล็ก
Base Ward หมอนรองดิน ส่วนมากประกอบติดตายตัวมากับปลอกกระสุนของกระสุนลูกซอง เพื่อให้ดินทั้งหมดอยู่ตรงหน้าประตูของห้องแก๊ป คอยรอการจุดจากประการแก๊สร้อนของแก๊ป ซึ่งจะวิ่งพุ่งผ่านรูหรือประตูออกมา
Battery Cup ถ้วยแก๊ปหรืออีกนัยหนึ่งฝาครอบแก๊ปนั่นเอง ติดตั้งประกอบปิดเป็นฝาของห้องแก๊ป อยู่ตรงกึ่งกลางจานท้ายกระสุน โดยแท้จริงแก๊ปบรรจุอยู่ในถ้วยหรือติดอยู่กับฝาครอบแก๊ป
Beavertail ในด้านวิชาเทคนิค หมายถึงรูปร่างและลักษณะอันใหญ่โตของกระโจมมือของปืนไรเฟิลหรือของปืนลูกซอง กระโจมมือแบบนี้ (บีเวอเทล) กว้างกว่ากระโจมมือขนาดมาตรฐาน ซึ่งนิยมเป็นหลักการสร้างของกระโจมมือทั่วไป มีความมุ่งหมายเพื่อให้จับได้เต็มมือมั่นเหมาะขึ้น กระโจมมือของปืนไรเฟิลยาวแบบยิงเป้าจัดอยู่ในจำพวกนี้
Belted Cartridge ปลอกกระสุนซึ่งมีสันสูงตรงโคนปลอก เช่นกระสุนขนาด .375 H&H แม็กนั่ม สันนี้สร้างติดตายตัวกับปลอกกระสุน นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของปลอกกระสุน ค่าใช้จ่ายในการสร้างปลอกแบบนี้สูง สันนี้อยู่ถัดต่อจากร่องสำหรับฝังขอรั้ง (Cannelure) บ่าในรังเพลิงชนแน่นสนิทกับสันในการอัดกระสุนให้แน่นติดกับรังเพลิง
Big Game กีฬาล่าสัตว์ใหญ่ คำนี้นิยมใช้ในประเทศอเมริกากันมาก แต่จะนำไปใช้ในประเทศอื่นดูเหมือนจะไม่รู้เรื่องกัน แท้จริงในประเทศอเมริกามิได้มีสัตว์ป่าใหญ่ๆ เลย จึงนิยมกันเฉพาะในสหรัฐว่าสัตว์ซึ่งมีขนาดใหญ่ เช่น กวางดาว Deer ละมั่ง Antelope และหมีดำ Black Bear จัดว่าเป็นสัตว์ใหญ่ทั้งสิ้น แต่ในประเทศเราจัดเป็นสัตว์ขนาดกลาง สัตว์ใหญ่ของเราควรจะเป็นตั้งแต่ชั้นวัวแดงขึ้นไป
Bolt ลูกเลื่อน นอกจากจะป้อนกระสุนเข้ารังเพลิงและดึงกระสุนออกแล้ว หน้าที่อันสำคัญของลูกเลื่อนอย่างแท้จริงก็เพื่อป้องกันการดันกลับของปลอกกระสุนในขณะดินปืนแปรสภาพเป็นแก๊ส
Bolt Release หมุดคลายลูกเลื่อน โดยมากมักมีประกอบใช้กับปืนแบบโยนลำและแบบกึ่งอัตโนมัติ ต้องกดหรือผลักหมุดนี้เสียก่อน จึงสามารถกระชากลูกเลื่อนให้ถอยหลังเปิดสลัดกระสุนออกจากรังเพลิงได้โดยไม่ต้องยิงปืน
Bore รูลำกล้อง ไม่จำกัดว่าจะมีเกลียว หรือเกลี้ยงปราศจากเกลียว เป็นทางเดินของหัวกระสุนและลูกปราย Smooth Bore ลำกล้องเกลี้ยงปราศจากเกลียวเช่น รูลำกล้องของปืนลูกซอง
Breech ท้ายลำกล้องของลำกล้องปืนทุกแบบ ต้องเป็นทางเข้าหรือประตูเข้าของกระสุนไปสู่รังเพลิง
Breech Bolt หรือ Breech Block คำสองคำนี้ใช้แทนกันได้และบางครั้ง ในบางกรณีก็ใช้ลูกเลื่อน Bolt แทน คำทั้งสองนี้ได้ เป็นเครื่องกลไกเปิดท้ายลำกล้องของปืนเพื่อป้องกันการดันกลับของกระสุนเช่นกัน ในสมัยปืนประจุปากก็เรียกส่วนที่เปิดท้ายลำกล้องว่า Breech Block และในปัจจุบันสำหรับปืนลูกซองทั้งเดี่ยวและแฝดก็เช่นกัน นิยมเรียกแท่งเหล็กซึ่งสร้างติดตายตัวเป็นส่วนหนึ่งของโครงปืน ซึ่งทำหน้าที่ปิดท้ายลำกล้อง Breech Block ส่วนปืนแบบลูกเลื่อนก็เรียกว่า Bolt ในด้านปืนยิงซ้ำในแบบอื่นๆ รวมทั้งปืนกึ่งอัตโนมัติและปืนกลนิยมเรียกว่า Breech Bolt
Breech Loading หลักการประจุท้ายซึ่งเป็นหลักการของปืนทั่วไปในสมัยปัจจุบัน หลักการประจุกระสุนเข้ารังเพลิงทางโคนลำกล้อง
Breech with Wings ท่านจะพบคำนี้บ่อยๆ เมื่อศึกษาอาวุธปืนลูกซองแฝดและปืนไรเฟิลแฝด หมายถึงโครงเหล็กปิดท้ายลำกล้อง (Breech Block) มีแผ่นเหล็กเล็กๆ รูปร่างคล้ายเล็บมือยื่นออกมาคอยประคองท้ายลำกล้องไว้ทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันมิให้โคนลำกล้องเอียงไปท้างซ้ายหรือทางขวาในขณะปืนลั่น เรานิยมเรียกกันว่า “บังไฟ”
Bullet หัวกระสุน
Butt ฝ่าพานท้าย พานท้ายปืนกอปรด้วยคอพานท้าย บ่าพานท้าย โหนกพานท้าย สันพายท้าย ส้นพานท้าย ฝ่าพานท้าย ปลายพานท้ายและตุ้มพานท้าย
Butt-Plate รองพานท้าย
Caliber ขนาดลำกล้องของปืนไรเฟิลและปืนพก ขนาดลำกล้องจะเป็นอย่างไรก็อาศัยเส้นผ่าศูนย์กลางของลำกล้องวัดจากสันเกลียวถึงสันเกลียวด้านตรงกันข้ามเป็นสำคัญ
Cammeluae ร่องแนว คำนี้จะพบเสมอในการศึกษากระสุนปืนมีความหมายและใช้แตกต่างกันดังนี้
1. ในด้านปลอกกระสุน หมายถึงร่องรางรอบๆ ปลอกซึ่งอยู่ถัดจากจานท้ายกระสุน สำหรับเป็นร่องฝังของรังกระสุน ในบางกรณีก็ใช้เรียกร่องราง ซึ่งมีอยู่บนตัวปลอกกระสุนตรงใกล้ปลายปลอกกระสุนปืนบางแบบ เช่น ปลอกกระสุนของกระสุนขนาด .357 แม็กนั่ม และขนาด .38 สเปเชียลบางแบบเป็นต้น
2. ในด้านหัวกระสุน หมายถึงร่องรองรอบๆ ฐานกระสุน ซึ่งเป็นที่อยู่ของน้ำมันเครื่องอย่างแข็งซ่อนฝังไว้ใต้ปากปลอก และหมายถึงร่องแนวต่างๆ ซึ่งทำไว้ตรงปากเปลือกกระสุนของกระสุนหัวอ่อน และกระสุนซึ่งมีระบบการควบคุมการขยายตัว เพื่อให้เป็นแนวทางในการฉีกเปลือกของหัวกระสุนออกในการบานขยายตัวของหัวกระสุน
Carbine เป็นชื่อใช้สำหรับเรียกปืนไรเฟิล ซึ่งมีลำกล้องสั้นๆ แรกเริ่มเดิมทีปืนประเภทนี้สร้างขึ้นเพื่อให้หน่วยทหารม้าใช้ในการปฏิบัติงาน
Case ปลอกกระสุน หรือหีบใส่ปืน Empty Case ปลอกเปล่า , Efred Case ปลอกซึ่งยิงแล้ว
Center fire หลักการแทงชนวนตรงกลางของจานท้ายกระสุน
Chamber รังเพลิง
Chamber Cone บ่ารังเพลิงหรือกรวยรังเพลิง คำนี้พบมากในขณะศึกษาปืนลูกซอง หมายถึงบริเวณพื้นหน้าตะแคงเท เชื่อมต่อรังเพลิงและลำกล้อง
Choke อุปกรณ์ปรับม่านลูกปรายของปืนลูกซอง
Comb โหนกของพานท้ายปืน เป็นยอดสูงของสันพานท้าย เชื่อมต่อบ่าของพานท้ายและสันของพานท้าย
Combustion การเผาไหม้ของดินปืนในลำกล้อง
Corrosion การเป็นสนิมอย่างช้าโดยปฏิกิริยาของออกซิเจน ซึ่งเป็นแก๊สผสมอยู่ในอากาศ
Creep อัตราการลากไก อาการลากไกปืน เริ่มตั้งแต่ไกถูกกดให้เคลื่อนเรื่อยๆ มาจนถึงการสับของนก
Crimp ปลายจีบ หมายถึงส่วนของปากของปลอกกระสุนลูกซองตรงบริเวณซึ่งถูกจีบพับไปปิดปากกระสุนดังนี้เป็นต้น
Deflector แผ่นโลหะ ทำหน้าที่เป็นแผงกำบังประกอบติดตั้งตรงช่องสลัดปลอกของโครงปืน เพื่อป้องกันมิให้ปลอกกระสุนกระเด็นขึ้นสูง และกระเด็นย้อนหลังและช่วยป้องกันควันจากดินปืน
Double Action หมายถึงปฏิกิริยาของนกปืนซึ่งง้างขึ้นเองและสับลงได้เองโดยการน้าวไกเข้าเพียงครั้งเดียว หรืออาจจะเรียกได้ว่า “สองตวัด”
Drift ลอยตามลม การลอยตัวของกระสุนเบนออกจากแนวของการวิ่งด้วยกำลังลม
Drop ลาดต่ำหรือตกต่ำ มีความหมายดังนี้
1. หมายถึงการลาดต่ำลงของสันพานท้ายจากแนวเส้นเล็งเมื่อลดศูนย์ลงต่ำสุด
2. อัตรากระสุนตกหมายถึงการตกต่ำของกระสุนจากแนวระดับเส้นระยะทางหรือจากจุดกึ่งกลางของเป้าหมาย
Ejector หมุดสลัดปลอก หรือคานดีดกระสุน
Non-Ejector Shotgun ปืนลูกซอง ซึ่งมีแต่เพียงคานดันปลอกกระสุนให้เผยออกจากรังเพลิงเท่านั้น
Ejector Shotgun ปืนลูกซอง สลัดปลอกให้กระเด็นลอยออกด้วยคานดีดปลอกกระสุน
Elevation ปรับสูง หมายถึงการเคลื่อนศูนย์หลังของปืนให้สูง เพื่อให้กระสุนวิ่งสูงขึ้น
Energy อำนาจทะลุทะลวง หรือแรงปะทะ
Erosion การเป็นสนิมอย่างเร็ว โดยการรอกรวกผิวหน้าของรังเพลิงหรือลำกล้องด้วยความร้อนให้ถลอกออก
Extractor ขอรั้งกระสุน
Exit pupil กลุ่มของลำแสง ซึ่งลอดออกมาจากเล็นซ์รับภาพของศูนย์กล้อง ในขณะที่ท่านชูกล้องออกห่างจากดวงตาไกลๆ และหันไปทางแสงสว่าง ท่านจะเห็นจุดแสงกลมเล็กๆ รวมพุ่งเป็นจุดอยู่บนเล็นซ์ภาพ เล็นซ์ชิ้นสุดท้ายหลังสุดของศูนย์กล้อง
Firing pin เข็มแทงชนวน แบบซึ่งต้องอาศัยนกสับหรือตีตอนท้ายจึงจะพุ่งไปแทงแก๊ปได้
First cross point จุดตัดครั้งแรกของวิถีกระสุนกับแนวเส้นเล็ง
Foot pound อัตราวัดอำนาจทะลุทะลวง หรือแรงปะทะของกระสุน กระสุนซึ่งมีอำนาจทะลุทะลวง 2,000 ฟุตปาวนด์ หมายความว่า ถ้าเราสามารถบังคับกระสุนยกของหนักได้ กระสุนนั้นจะยกน้ำหนัก 2,000 ปาวนด์ขึ้นสูงได้ถึง 1 ฟุต
Foot seconds อัตราวัดความเร็วของกระสุน เป็นหน่วยจำนวนฟุตต่อ 1 วินาที
Fore-end กระโจมมือ
Free pistol ปืนพกไม่มีแม็กกาซีน ประจุได้ทีละนัด เป็นปืนแบบนัดเดียว (Single Shot) ใช้สำหรับในการยิงเป้าแข่งขัน ซึ่งต้องการความประณีตขั้นสูงแบบ Free Style
Free Rifle เป็นภาษา “สแลง” นิยมมิใช้กันอย่างแพร่หลายในอเมริกา ซึ่งแปลเป็นภาษาตลาดของเราว่า “ปืนเฮงซวย” ปืนซึ่งเจ้าของใช้ยิงเป้า แต่ปรากฏว่าปืนส่งวิถีกระสุนเปะปะเรื่อยไปหมด ไม่เป็นการแน่นอน จนผู้เป็นเจ้าของเกิดโทสะขว้างปืนทิ้งหรือให้ใครไปเปล่าๆ โดยไม่คิดมูลค่า
Free Style ท่าถนัด
Gallery load กระสุนกำลังขับต่ำ ใช้ในการยิงเป็าในสนามฝึก
Gauge ชื่อแสดงขนาดของปืนลูกซอง ปืนลูกซองขนาด 12 หมายถึงเมื่อเอาตะกั่วหนัก 1/12 ของตะกั่วบริสุทธิ์หนักหนึ่งปาวนด์ไปปั้นเป็นลูกกลม (ball) แล้วจะหยอดใส่ผ่านลำกล้องได้ครือๆ พอดี
Grip อาการกำของมือ ด้าม และคอปืน
1. ปืนสั้น หมายถึงแผ่นแก้มของด้ามทั้ง 2 ข้าง ซึ่งประกอบเป็นด้ามปืนพก และบางครั้งก็หมายถึงชื่อ และอุปกรณ์เสริมให้ด้ามปืนกว้างขึ้นเพื่อการกำอย่างมั่นเหมาะ
2. ปืนยาว หมายถึงบริเวณคอปืน แต่ส่วนมากทั่วไปมักจะเรียกคอของปืนยาวว่า “Pistol-grip”
Full pistol-grip หมายถึงคอปืนยาว ซึ่งมีตุ้มของพานท้ายยื่นต่ำเห็นได้ชัด
Half pistol-grip หมายถึงคอปืนยาว ซึ่งมีตุ้มของพานท้ายกลมมนยื่นต่ำลงมาเล็กน้อยไม่มากนัก
Grooves ร่องเกลียวในลำกล้องของปืนไรเฟิล บางครั้งก็ใช้แทนคำว่า Cannelure
Group กลุ่มของกระสุนบนเป้าหมายซึ่งเกิดจากการยิงหลายๆ นัด
Hammer นกปืน
Hammer-shotgun ปืนลูกซองนกนอก
Hammerless-shotgun ปืนลูกซองนกใน
Hammer-spur หงอนของนกปืน เป็นที่รั้งของหัวแม่มือในการง้างนก
Hammer time ระยะเวลาซึ่งสูญสิ้นไปตั้งแต่ไกปืนถูกกด จนถึงนกตกลงตีเข็มแทงชนวน
Hand gun ปืนสั้น
Hang fire การชักช้าเฉื่อยชาในการระเบิดของกระสุนภายหลังการเหนี่ยวไก
Heat-treated ชุบพื้นหน้าให้แข็งเพื่อให้ทนต่อความร้อนสูงของแก๊สได้
Heel ส้นปืน
High power ใช้เป็นคำเรียกแบบปืนและกระสุน ซึ่งมีความเร็วสูงตั้งแต่ 2,000 ฟุตต่อวินาทีขึ้นไป
High intensity ใช้เป็นคำเรียกแบบปืนและกระสุน ซึ่งมีความเร็วสูงตั้งแต่ 2,500 ฟุตต่อวินาทีขึ้นไป (ความเร็วอุกฤษฏ์)
Impact การปะทะหรือการวิ่งพุ่งชนเป้าหมายโดยแรงของหัวกระสุน ในบางกรณีใช้เป็นคำคุณศัพท์ บ่งถึง “แรงปะทะ”
Inner-belted หลักการสร้างเปลือกกระสุนให้มีสันยื่นเข้าทางด้านภายในของเปลือก เพื่อป้องกันมิให้หัวกระสุนบานตัวต่อไปอีกได้ เพื่อจะใช้น้ำหนักของกระสุนตอนท้ายไปเพิ่มอำนาจการทะลุทะลวงให้ลึกๆ เข้าไปอีก หลักการสร้างอันเดียวกันกับแบบ Core-lock
Invisible hammer นกใน
Jacket เปลือกกระสุน ซึ่งห่อหุ้มไส้ในของหัวกระสุน
Jump สะท้อน หมายถึงการสะท้อนของลำกล้องปืนให้ปากกระบอกกระดกขึ้น โดยแรงสะท้อนถอยหลังของปืน
Key-hole รูกระสุนเป็นทางยาวบนเป้าหมาย ซึ่งหัวกระสุนหัวใดหัวหนึ่งเจาะไว้
Knocking-power คำนี้มีความหมายหนักไปทางประกาศิตหยุดยั้งของปืน คล้ายๆกับคำ Knock out ดูเหมือนว่าจะไม่เหมาะที่จะใช้หมายถึง “แรงปะทะ”
Lands สันเกลียวในลำกล้อง
Lead ตะกั่วหรืออัตราการเล็งปืนเผื่อไว้ในการยิงเป้าเคลื่อนที่
Leading คราบของตะกั่วซึ่งติดค้างเกาะแน่นอยู่ในลำกล้องปืนภายหลังการยิง หรือการเล็งเผื่อดักหน้า
Leed คำนี้มีรากศัพท์มาจาก Lead หมายถึงคอรังเพลิงตรงบริเวณที่เป็นหน้าลาดเท ตอนต่อหรือเชื่อมรังเพลิงให้ประจบกับเกลียวของลำกล้อง
Length of pull ระยะทางจากกึ่งกลางของไก ถึงกึ่งกลางของพานท้ายปืน วัดทางด้านข้าง
Line of sight แนวเส้นเล็ง เป็นเส้นแนวสมมุติ จากดวงตาผ่านศูนย์หลังศูนย์หน้าของปืนตรงไปยังจุดกึ่งกลางของเป้าหมาย
Lock เครื่องลั่นไก เครื่องกลไกในการลั่นไกของปืน
Lock speed เช่นเดียวกับ Hammer time
Long Rifle (L.R.) ชื่อเรียกแบบของกระสุนลูกกรด ซึ่งนิยมกันแพร่หลายที่สุด
Lubaloy ชื่อจดทะเบียนแบบของโรงงานสร้างกระสุน Western Cartridge Company หมายถึงหัวกระสุนชุบทองแดง ซึ่งเป็นหลักการสร้างเดียวกันกับกระสุน Kopperklad ของโรงงาน Winchester
Machine rest อุปกรณ์ค้ำจุน บังคับลำกล้องของปืนให้ติดแน่นมั่นคงในการยิงทดสอบความแม่นยำของลำกล้อง
Magazine ซองกระสุน
Magnum เป็นชื่อเรียกแบบปืนและกระสุน ซึ่งมีอานุภาพสูงร้ายแรง คำนี้มีสมุฏฐานจากคำซึ่งใช้เรียกเหล้าแชมเปญขวดใหญ่ ซึ่งบรรจุเหล้าได้มากกว่าขวดธรรมดา ปลอกกระสุนแม็กนั่มก็จุดินได้มากกว่าปลอกกระสุนขนาดธรรมดา
Metallic cartridges กระสุนปลอกโลหะ
Middle sight ศูนย์หลังซึ่งมักเป็นศูนย์เปิด ติดตั้งอยู่ตรงโคนลำกล้องหน้าโครงปืน หรือ ถ้าเป็นปืนลูกซอง ก็จะเป็นจุดไข่ปลาที่อยู่ กึ่งกลาง หลังถนน [ Rib ]
Mid-range เป็นชื่อนิยมใช้เรียกกระสุนแบบประจุเพื่อการยิงเป้า
Minute ลิปดา
Mushroom นิยมใช้กล่าว หมายถึงการบานขยายตัวของหัวกระสุนซึ่งบานปลายเหมือนดอกเห็ด
Muzzle ปากลำกล้อง ซึ่งกระสุนวิ่งผ่านออกมา
Crowned on the muzzle หมายถึงการทำขอบของปลายลำกล้องให้นูนสูงขึ้น เพื่อป้องกันปลายเกลียวของลำกล้องมิให้ไปกระทบกับอะไรจนช้ำหรือชำรุดไป
Dented at the muzzle ขูดขอบในของปากลำกล้องให้เป็นแอ่งลึกลงไป เพื่อป้องกันปลายเกลียวของลำกล้องเช่นกัน
Muzzle energy เป็นอำนาจทะลุทะลวง หรือแรงปะทะต้นตรงปากลำกล้อง
Muzzle velocity ความเร็วต้น ตรงปากลำกล้อง
Objective เลนซ์รับแสงของศูนย์กล้อง เลนซ์ชิ้นหนาของกล้องซึ่งหันไปยังเป้า
Operating-handle คาน ขอ หรือหมุด สำหรับเหนี่ยวดึงเพื่อประจุกระสุนขึ้นลำ
Pattern ม่านลูกปรายของกระสุนลูกซอง
Partridge-sight ศูนย์หน้าซึ่งเป็นเสาตั้งตรง ยอดตัด (ศูนย์ฉาก)
Pistol ปืนสั้นไม่จำกัดว่าเป็นปืนแบบนัดเดียวหรือแบบยิงซ้ำอื่นๆ ซึ่งมิใช่เป็น “ลูกโม่”
Pocket pistol ปืนพก
Pressure กำลังขับดันของแก๊สเพื่อต้องการหาทางออก อัตราการวัดเทียบเป็นตารางนิ้วตามเนื้อที่หน้าตัด ส่วนกว้างของรังเพลิง
Primer บางครั้งก็หมายถึงถ้วยแก๊ป บางคราวก็หมายถึงแก๊ปปืน
Pull น้าวไกปืน และก็หมายถึงระยะความยาวจากไกถึงกึ่งกลางของพานท้ายด้านข้าง
Receiver โครงปืนพร้องทั้งเครื่องกลไกในการประจุกระสุนเข้ารังเพลิง รวมทั้งลูกเลื่อนและอื่นๆ นอกจากลำกล้อง ไกปืน และซองกระสุน
Rechamber เปลี่ยนรังเพลิงหรือคว้านรังเพลิงใหม่ เพื่อใช้กระสุนแบบอื่น ซึ่งมีขนาดลำกล้องเดียวกัน
Recoil แรงสะท้อนถอยหลังหรือแรงถีบของปืน
Recoil-spring สปริงซึ่งคอยดันลูกเลื่อนกลับให้เปิดรังเพลิง
Reload ปืนลูกโม่อย่างเดียวไม่รวมปืนแบบอื่นใด
Revolver ปืนพกลูกโม่อย่างเดียวไม่รวมปืนแบบอื่นใด
Repeating Rifle ปืนไรเฟิลแบบยิงซ้ำ
Rifle ปืนซึ่งมีเกลียวในลำกล้อง ไม่จำกัดว่าจะเป็นปืนสั้นหรือปืนยาว
Repeating เกลียวในลำกล้อง (มีความหมายหนักไปทางร่องเกลียว เพราะการทำลำกล้องให้เป็นเกลียวก็คือการเซาะร่องนั่นเอง)
Rim ขอบของจานท้ายกระสุน
Rim fire (R.F.) หลักการแทงชนวนปืนตรงขอบของจานท้านกระสุน (ชนวนริม)
Safety เซฟปืน หรือห้ามไก
Grip Safety ส่วนมากหมายถึงปืนพก ซึ่งเรานิยมเรียกกันว่า “แบบหลังอ่อน” ต้องกำปืนใช้อุ้งมือกดหลังให้ลงไปสนิทก่อนจึงจะเหนี่ยวไกยิงได้
Magazine Safety ปืนซึ่งต้องใส่ซองกระสุนเข้าที่เสียก่อนจึงจะเหนี่ยวไกยิงได้
Sear จักร เป็นตัวจักรในการแปรสภาพของกำลังงานเหนี่ยวไกให้เปลี่ยนเป็นการปล่อยนกหรือปล่อยเข็มแทงชนวน
Self-loading ประจุเอง ปืนประจุเอง
Shot ลูกปราย
Sight ศูนย์ปืน
Sight radius ระยะทางระหว่างศูนย์หลังและศูนย์หน้า
Sighting-in ปรับศูนย์
Hunting sighting-in ปรับศูนย์จี้ตรงจุด
Target sighting-in ปรับศูนย์หมายเป้านั่งแท่น
Tangent rear sight ศูนย์หลังซึ่งเป็นแผ่นสำคัญ
Signal pin หมุดสัญญาณ โดยมากมักจะพบประกอบติดมากับปืนแฝด ถ้าหมุดโผล่ยื่นออกมา หมายความว่าลำกล้องนั้นยังมิได้ยิง ถ้าหมุดจมกลับเข้าไปหมายความว่าเหนี่ยวไกแล้ว ในด้านปืนสั้นเช่น ปืนวอลเธอร์ ถ้าปรากฏว่าหมุดยื่นออกมาแสดงว่ามีกระสุนในรังเพลิง
Single Action ปืนวอลเธอร์ ซึ่งต้องง้างนกขึ้นก่อนจึงจะเหนี่ยวไกยิงได้ ปืนโอโตเมติคนกนอก เมื่อลดนกลงแล้วต้องง้างนกขึ้นก่อนจึงจะเหนี่ยวไกยิงนัดแรกได้
Single barrel (S.B.) ปืนเดี่ยว ลำกล้องเดี่ยว
Sling สายสะพายปืน Automatic sling สายสะพานม้วนตัวเองเข้าไปซ่อนในพานท้ายปืนได้ เมื่อปลดห่วงสายสะพานตรง กระโจมมือออก
Stock พานท้ายปืน ด้ามปืน
Straight stock พานท้ายปืนซึ่งมีคอตรง ปราศจากตุ้มของพานท้าย นิยมในการทำพานท้ายปืนลูกซอง พานท้ายแบบนี้เหมาะที่สุดที่จะเป็นพานท้ายของปืนลูกซอง เพราะการยิงลูกซองอาศัยการวางลำกล้องเท่านั้น มิได้ใช้การเล็งแบบปืนไรเฟิล
Monte Carlo stock พานท้ายสันยก พานท้ายแบบซึ่งสร้างโดยยกสันชูขึ้นให้สูง เหมาะกับการใช้ศูนย์กล้อง
Striker เข็มแทงชนวนจำพวกซึ่งพุ่งไปแทงแก๊ปได้ โดยมิต้องอาศัยการตีหรือการสับนก เช่นเข็มแทงชนวนของปืนไรเฟิลแบบลูกเลื่อนเป็นต้น
Swivel ห่วงเหล็กสายสะพายของปืน “หูกระวิน”
Throat คอรังเพลิง เช่นเดียวกับ Leed
Toe ปลายพานท้าย
Trajectory วิถีกระสุน
Trigger ไกปืน
Hair trigger ไกแบบชนิดเป็นไกเบา
Trigger guard โกร่งไก
Twist การบิดม้วนของเกลียวในลำกล้องปืน
Weights แท่งโลหะถ่วงลำกล้องให้หนักลง เพื่อใช้น้ำหนักเป็นการหักล้างกำลังสะท้อนขึ้นสูงของลำกล้องเพื่อให้การเล็งและยิงนัดต่อๆ ไปรวดเร็วขึ้น
Wobble การปรากฏการณ์ “วูบวาบ” ในกล้อง เนื่องจากผู้เล็งมือสั่น
X-A ring วงกลมวงเล็กสุดในวงกลม 10 แต้มของเป้ากระดาษใช้เป็นการตัดสินชี้ขาดในการแข่งขันยิงเป้า
Zero ปรับศูนย์จนกระสุนตกเป้า (ให้ยอดจุดศูนย์หน้าอยู่ตรงกึ่งกลางของรูกระสุน
Multi Caliber extractor ขอรั้งปลอกที่ใช้กับลำกล้องหลายขนาด
Bolt Handle ก้านลูกเลื่อน (ก้านสำหรับจับส่วนปลาย โยกดึงลูกเลื่อนไปมาหน้าหลังเป็นหน่วยเดียวกับลูกเลื่อน)
Firing Pin Base อู่เข็มแทงชนวน( เข็มแทงขนวนจะอยู่ในลูกเลื่อนโดยมีอู่ ช่อง ถ้ำ สำหรับหน่วยประกอบเข็มฯ )
Blocking Bar แท่งขวางรับลำกล้อง(ใช้เป็นที่ยึดลำกล้องกับกระโจมโครงปืนส่วนหน้าโดยเป็นรูเกลียวน๊อตตัวเมีย)
Bolt Release ปุ่มปลดลูกเลื่อน (กดปลดล๊อคลูกเลื่อนเมื่อต้องการถอดเอาลูกเลื่อนออกมาจากโครงปืน)
Trigger Arm ก้านไกปืน(เวลาเหนี่ยวไกจะเป็นอันที่ยกตัวขึ้นไปดันกลไกปลดเซียร์)
Trigger Sear ตัวนำปลดเซียร์ (เซียร์ต้องใช้ทับศัพท์ แต่แปลว่าตัวที่เมื่อถูกกระทำจะเป็นตัวทำให้การขบเกี่ยวหลุดออกจากกัน)
Trigger ไกปืน (ตัวนำ ตัวชักนำ ตัวกระทำให้เกิดการลั่นไก)
Safety Button ปุ่มเซฟ ปุ่มห้ามไก (ใช้กดเข้ากลไกจังหวะปลอดภัยและปลดออกจากจังหวะปลอดภัย)
ขออนุญาตคัดลอกข้อความท่านFABBRI ในเว็บ อวป. เพื่อประโยชน์ต่อบุคคลที่สนใจในด้านนี้ครับ ขอบคุณครับ